สารพันความรู้ กับน้ำดื่มสะอาด

ร้อน ร้อน กับน้ำดื่มสะอาด (Men's Health)

ร้อน ร้อน กับน้ำดื่มสะอาด

          อากาศยิ่งร้อน เราก็ยิ่งหิวน้ำ น้ำอะไรที่ดูจะเทียบน้ำใสสะอาดแช่เย็นเจี๊ยบไม่ได้ แต่อย่าเพิ่งชะล่าใจไป เพราะน้ำใส ๆ ที่เห็นใช่ว่าจะสะอาดไปทั้งหมด แล้วแบบไหนล่ะที่เราจะมั่นใจได้

          หลายคนคงคิดเหมือนกันว่า ที่เรียกว่า "น้ำดื่มสะอาด" ซึ่งเดี๋ยวนี้มีให้เลือกกันเต็มตู้แช่ แจกกันทุกปั๊มน้ำมันจนบางคนคิดว่าน้ำในขวดพลาสติกใสที่ต้องเสียเงินซื้อเท่านั้นจึงจะสะอาด น้ำประปาในบ้านที่ใช้วิธีต้นแบบดั้งเดิมดูจะสะอาดไม่พอ แถมเครื่องกรองน้ำที่ใช้ในบ้าน ก็มีรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติ "สะอาดกว่า" จนตามแทบไม่ทัน

          ผู้เชี่ยวชาญจากสถานบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่าน้ำดื่มบรรจุขวดที่ขายในบ้านเรา 80 เปอร์เซ็นต์ ใช้กระบวนการผลิตด้วยวิธีการกรองจากน้ำประปาทั้งสิ้นและน้ำดื่มสะอาดคือ น้ำที่มีสารละลาย แร่ธาตุต่าง ๆ อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมต่อการบริโภค ไม่ใช่น้ำบริสุทธิ์ที่ไม่มีแร่ธาตุใด ๆ อยู่เลย

          เพราะฉะนั้นน้ำสะอาดจึงเริ่มต้นจากน้ำประปาที่ทุกบ้านมีนั่นเอง

          "น้ำประปาสะอาด" ดื่มได้จริงหรือ


          แม้ว่าการประปานครหลวงซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐก่อตั้งมาเพื่อดูแลน้ำสะอาดให้กับประชาชนมาเกือบ 90 ปี จะบอกว่าน้ำประปาสะอาดดื่มได้ แต่ก็ยังไม่มีใครกล้าดื่มน้ำจากก๊อก

          ในกระบวนการผลิตน้ำประปานั้น การประปาฯ ยืนยันว่ามีการดูแลทุกขั้นตอน เริ่มจากการคัดเลือกแหล่งน้ำสูบน้ำดิบ เติมสารเคมี เช่น สารส้ม เพื่อช่วยให้สาร แขวนลอยที่มีอยู่ในน้ำดิบรวมกันก่อนเข้าสู่การตกตะกอน แล้วผ่านน้ำใสไปยังปอกรอง จากนั้นจะเดิมคลอรีนซึ่งเป็นสารฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูง ก่อนจะจ่ายน้ำประปาไปตามเส้นท่อให้ประชาชนผู้ใช้น้ำ การตรวจสอบคุณภาพน้ำประปามีทั้งที่โรงงานผลิตน้ำ สถานีสูบจ่ายน้ำและระบบเส้นท่อจ่ายน้ำ ปัญหาที่มักจะเกิดคือ ระบบท่อภายในอาคารบ้านเรือนของผู้ใช้เป็นเหล็กซึ่งหมดอายุแล้ว อาจจะมีสนิมเหล็กหลุดปะปนออกมา โดยเหล็กนี้มีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี เมื่อหมดอายุแล้วจึงควรเปลี่ยนเป็นท่อทีวิซีแทน หรือควรมีที่พักน้ำและหมั่นดูแลล้างทำความสะอาดอยู่เสมอ ๆ

          ถ้ายังไม่แน่ใจ MH มีวิธีการทดสอบน้ำประปาอย่างง่าย ๆ ว่าสะอาดหรือไม่ โดยเปิดก๊อกน้ำทิ้งไว้สักครู่ แล้วรองน้ำใส่แก้วดูว่าใสใช้ได้ไหม และอย่ารังเกียจกลิ่นคลอรีน เพราะกลิ่นคลอรีนนี่แหละที่แสดงว่าน้ำสะอาดได้ผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้ว ถ้าไม่ชอบให้พักทิ้งไว้ 20-30 นาที กลิ่นจะหายไปเอง การใส่คลอรีนมากหรือน้อยก็ไม่ต้องกังวล เพราะองค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ว่า ต้องไม่มีคลอรีนในน้ำประปาเกิน 5.0 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งบ้านเราอยู่ระหว่าง 2.0-1.8 มิลลิกรัม/ลิตร

          เมื่อน้ำประปามาถึงที่บ้าน มีวิธีฆ่าเชื้อโรคเพื่อความมั่นใจอีกครั้ง ในอดีตเราอาจพักน้ำใส่ตุ่มไว้เพื่อให้สิ่งต่าง ๆ ตกตะกอนอีกครั้ง กำจัดกลิ่นคลอรีน และใส่กาต้มให้เดือดที่ 100 องศาเซลเซียส วิธีการนี้จะทำให้จุลินทรีย์ แบคทีเรียต่าง ๆ ตายไป แต่แร่ธาตุยังอยู่ ต่อมาเมื่อมีเครื่องกรองน้ำชีวิตเราจึงสะดวกสบายขึ้น แต่กลายเป็นว่าต้องมากังวลใจแทนว่าใช้เครื่องกรองน้ำแบบใดจึงจะดีและสะอาดจริง

          เครื่องกรองน้ำชนิดใดดีกว่ากัน


          เครื่องกรองน้ำนี่เองเป็นที่มาของการทำน้ำดื่มสะอาดบรรจุขวด ประเภทของการกรองน้ำแบ่งเป็นวิธีการใหญ่ ๆ ได้ 2 วิธี คือ การกรองด้วยคาร์บอน พวกนี้จะดูดซับกลิ่น และรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ไว้ แต่ยังมีแร่ธาตุอยู่ และกรองด้วยยูวี คือแสงอัลตราไวโอเลตนั่นเอง รังสีนี้จะช่วยฆ่าเชื้อโรคโดยการตัดวงจรแพร่พันธุ์ของจุลชีพ

          เครื่องกรองน้ำอีกระบบที่นิยมใช้กันในปัจจุบันและเป็นที่ถกเถียงกันอยู่คือ ระบบออสโมซิสย้อนกลับ (Reverse Osmosis หรือเรียกง่าย ๆ ว่า RO) น้ำกรองชนิดนี้ใช้แรงดันสูงฉีดน้ำให้ผ่านเยื่อบาง ๆ ที่เรียกว่า Membrane เยื่อนี้สามารถกรองน้ำได้เล็กละเอียดถึงขนาดกรองโมเลกุล และกรองอะตอมของน้ำได้ เรียกว่าเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ไม่มีทางหลุดผ่านเยื่อกรองนี้ไปได้ และยังขจัดสารเคมี และแร่ธาตุทุกชนิดออกหมด รวมทั้งแคลเซียมและแมกนีเซียม น้ำจึงไม่มีรสชาติใด ๆ

          น้ำที่ผ่านการกรองโดยวิธีนี้จะต้องแช่ตู้เย็นเก็บไว้ใช้ภายใน 24 ชั่วโมง ห้ามปล่อยทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง เพราะเมื่อไม่มีคลอรีน แบคทีเรียจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงไม่เหมาะที่จะใช้ดื่มทั่วไป จัดเป็นน้ำบริสุทธิ์ที่เรียกกันว่า Purified Water ซึ่งนำไปใช้ในทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น อุตสาหกรรมการผลิตยาที่ต้องการความบริสุทธิ์สูง ๆ
          น้ำชนิดนี้ดึงแร่ธาตุต่าง ๆ ออกหมด เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็จะดึงแร่ธาตุต่าง ๆ ในร่างกายออกมาด้วย ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว แต่ปัจจุบันน้ำระบบ RO นี้กลับพบในเครื่องกรองน้ำตามบ้านและเครื่องกรองน้ำหยอดเหรียญทั่วไป จึงกลายเป็นเรื่องถกเถียงกันระหว่างนักวิชาการเคมีกับนักโภชนาการที่ทำการสำรวจและวิจัย นักโภชนาการบอกว่า น้ำที่ที่ไม่ควรดื่มคือน้ำที่ผ่านระบบกรองที่เรียกว่า Deionization หรือน้ำ DI ซึ่งเป็นการแยกประจุของสิ่งที่เจือปนออกจากน้ำ น้ำที่ได้นี้จะบริสุทธิ์มาก ๆ เรียกว่า Ultra Pure Water ซึ่งในกระบวนการทำน้ำ DI นี้ต้องไปผ่านโซเดียมไฮเดรอกไซด์ซึ่งเป็นต่างเพื่อให้น้ำบริสุทธิ์สุด ๆ เพราะฉะนั้นจึงเป็นตัวทำละลายชั้นดีเลิศ จนสามารถละลายแร่ธาตุทุกอย่างที่เรามีอยู่ในร่างกายไปด้วย

          ส่วนผู้ที่อยู่ในวงการบอกว่า ปัจจุบัน DI เป็นระบบที่ล้าสมัยไม่นิยมใช้กันแล้ว การทำน้ำให้บริสุทธิ์ในปัจจุบันเป็นระบบ RO เกือบทั้งสิ้น และให้ความเห็นว่าเครื่องกรองน้ำหยอดเหรียญที่ใช้ระบบ RO นั้นไม่ได้เป็นการกรองแบบสมบูรณ์จึงยังดื่มได้ แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันเรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันไม่จบ เพราะฉะนั้นผู้ดื่มต้องทำความเข้าใจว่าน้ำสะอาดและน้ำบริสุทธิ์แตกต่างกันอย่างไร อย่ากังวลใจหรือรักษาความสะอาดจนเกินเหตุ

          ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องได้ให้คำจำกัดความของน้ำดื่มสะอาดว่า หมายถึงน้ำดื่มจากแหล่งน้ำคุณภาพดี ผ่านการกรองชั้นถ่านเพื่อดูดกลิ่นและผ่านสารเรซิน เพื่อลดความกระด้าง จากนั้นจึงนำไปฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยการผ่านแสงอัลตราไวโอเลตหรือแก๊สโอโซน

          อย่างไรก็ตามน้ำดื่มบรรจุขวดจัดอยู่ในการดูแลขององค์การอาหารและยา ฉะนั้นจึงต้องได้รับการตรวจสอบทั้งยังระบุวันหมดอายุซึ่งจะประมาณ 2 ปีนับจากวันผลิตที่อยู่บนฉลาก พอถึงตรงนี้หลายคนคงอดสงสัยต่อไม่ได้ว่าน้ำหมดอายุได้ด้วยหรือ ขอบอกว่าน้ำไม่ได้หมดอายุแต่การที่น้ำบรรจุอยู่ในขวดพลาสติกเป็นเวลานานอาจมีปัญหาได้แล้วขวดพลาสติกแบบใดจึงเหมาะที่จะนำมาบรรจุน้ำดื่ม 


ขอบคุณข้อมูลจาก https://men.kapook.com/view39317.html 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มั่นใจในทุกกระบวนการผลิตน้ำดื่ม

น้ำดื่มสะอาด และปลอดภัย ควรพิจารณาจากอะไร

ปรุงน้ำดื่มเพื่อสุขภาพ เพื่อขับไล่พิษในร่างกาย